Covid-19 ไม่ได้เป็นเพียงโรคระบาดที่มาแล้วจากไป แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจากนี้ไปอีกนานแสนนาน
แต่ละแบรนด์ แต่ละธุรกิจ ต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัว และเพื่อให้อยู่รอดได้นะครับ ในบทความนี้เรามีเคสตัวอย่างมาให้ศึกษาเบื้องต้น ว่าแต่ละประเภทธุรกิจนั้น ควรใช้วิธีการ กลยุทธ์แบบไหนในยุค Covid-19 นี้
ธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภค-บริโภค (Low Involvement)
(อาทิ ยาสีฟัน น้ำดื่ม เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ)
ควรรับมือสถานการณ์นี้อย่างไร?
1. ผู้บริโภคยังคงมีความต้องการในการซื้อสินค้าเหล่านี้ เพื่อสนองความต้องการตนเองอย่างต่อเนื่อง และบางประเภทสินค้า มีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติด้วย แบรนด์เหล่านี้จึงไม่ควรหยุดทำการตลาดกับผู้บริโภค เพื่อสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าเราเป็นอันดับแรกที่เขานึกถึง
2. กระจายสินค้าและสื่อโฆษณาให้ครอบคลุมและครบทุกช่องทาง ไม่ว่าจะออนไลน์-ออฟไลน์ เพื่อให้แบรนด์ยังคงอยู่ในสายตาผู้บริโภค
3. พัฒนาช่อง E-Commerce ให้น่าสนใจ ดึงดูด และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อโดยการเพิ่ม Call-to-Action ผ่านโปรโมชั่นต่าง ๆ อาทิ ฟรีค่าจัดส่ง ซื้อ1แถม1 เพื่อเพิ่มยอดขายในออนไลน์
4. สินค้าหมวดนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีแบรนด์ที่ชอบอยู่ในใจแล้ว แต่เกือบ 1 ใน 3 เลือกที่จะเปลี่ยนแบรนด์ไปตามความรู้สึก หรือความสนใจต่อแบรนด์ที่อาจพึ่งเห็น โดยขึ้นอยู่กับวิธีการสื่อสาร การสร้างความโดดเด่นน่าจดจำผ่านสื่อที่หลากหลาย ส่วนในประเด็นแบรนด์มีดีอย่างไร ต้องสื่อออกมาให้ได้ว่าแบรนด์เราจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคดีขึ้นอย่างไร
ธุรกิจประเภทสินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูง (High Involvement)
(อาทิ บ้าน คอนโด รถ คอมพิวเตอร์)
ควรรับมือสถานการณ์นี้อย่างไร?
1. สินค้าประเภทยานพาหนะ ถือว่าได้รับผลกระทบหนักจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็มีแนวโน้มฟื้นฟูสู่สภาวะปกติไวที่สุด
ในสถานการณ์นี้ ทางที่ดีที่สุดคือหันมาสร้างการรับรู้เชิงบวกให้กับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เมื่อสถานการณ์มาอยู่จุดที่ผู้บริโภคต้องการตัดสินใจซื้ออีกครั้ง แบรนด์ของเราจะเป็นอันดับ 1 ที่เขานึกถึง
2. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงที่ตัวแทนขายนั้นเข้าถึงได้ยาก หลายแบรนด์เลือกใช้สื่อดิจิทัลแทนการโฆษณาแบบปกติ อาทิ การใช้ Search Engine Marketing เพื่อเข้าถึงผู้ที่มีความต้องการซื้อโดยตรง ตามด้วยการพาชมบ้านผ่านทาง VDO Conference เสมือนได้ชมบ้านจริง เพื่อกระตุ้นยอดขาย
3. ต้องหาวิธีสื่อสารให้ผู้บริโภคเห็นว่า สินค้าหรือแบรนด์ของเราจำเป็นต่อชีวิต หรือขาดไม่ได้อย่างไร เพราะช่วงนี้สถานการณ์นี้พวกเขาคำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าที่ผ่านมา
4. รักษากลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า หรือผู้ที่ชะลอการซื้อไว้ โดยสร้างการรับรู้ในสื่อออนไลน์ทุกช่องทาง เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น นอกจากนี้การออกโปรโมชั่นที่ยืดหยุ่นมากขึ้นก็ช่วยได้ เช่น ดาวน์ 0 บาท ผ่อน 0% ช่วยผ่อน 2 ปี หรือ ส่วนลดพิเศษ เป็นต้น
ธุรกิจประเภทค้าปลีก บริการ (Retail & Services)
(อาทิ ร้านค้าปลีก-ส่ง ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย สถานบันเทิง)
ควรรับมือสถานการณ์นี้อย่างไร?
1. ต้องทำการสร้างฐานลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์ เพื่อให้ยังกลับมาซื้อใช้บริการปกติ
2. จากที่ผู้บริโภคออกบ้านน้อยลง ร้านอาหาร ฟิตเนส สถานบันเทิง สถานที่ผ่อนคลายต่าง ๆ อาจต้องเปลี่ยนจุดขายใหม่เพื่อรักษาธุรกิจ และทำกำไรในระยะสั้นและระยะยาว เช่น
– ร้านอาหารเน้นบริการส่งถึงบ้านมากขึ้น เน้นเรื่องความสะอาดปลอดภัยมากขึ้น
– ฟิตเนส หันมาเปิดคอร์สเต้นแอโรบิค ซุมบ้า ผ่าน Live หรือ VDO Conference
– สถานบันเทิงมีการสตรีมคอนเสิร์ต และส่งเครื่องดื่มถึงบ้าน
จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาเราหวังว่าจะเป็นไอเดียในการปรับธุรกิจของคุณสู่ยุคโควิด Covid-19 และหลังโควิดได้นะครับ
แต่หากอยากได้แนวทางที่ Insight กว่า แผนการตลาดใหม่ ที่คิดและปรับให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณโดยเฉพาะ ปรึกษา MAZ สิครับ