Brand CI หัวใจสำคัญ Branding ที่ทุกคนต้องรู้

Brand CI หัวใจสำคัญ Branding ที่ทุกคนต้องรู้
สารบัญ

ลองจินตนาการถึงแบรนด์ที่คุณชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นโลโก้ที่คุณจำได้ทันที สีที่สะดุดตา หรือแม้กระทั่งความรู้สึกเมื่อได้เห็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์เหล่านั้น ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ แต่มาจากการวางแผนที่ดีในการสร้างภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ของแบรนด์ หรือที่เรียกว่า Brand CI (Corporate Identity) ฟังแบบนี้แล้วหลายคนอาจจะยังมองไม่เห็นภาพ แต่ถ้าลองยกตัวอย่างอัตลักษณ์ของ KFC ภาพที่ผุดขึ้นมาก็คงจะเป็นผู้พันแซนเดอร์ พร้อมด้วยสีแดง ขาว ดำ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากการเห็นรูปแบบโลโก้ซ้ำ ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ จนเกิดภาพจำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Branding ที่ดี

Maz Business Consultant เราเชื่อว่า Brand CI ไม่ใช่แค่เครื่องมือสำหรับการแยกตัวออกจากคู่แข่ง แต่เป็นหัวใจของการสร้าง Branding ที่ประสบความสำเร็จ นอกจากช่วยสร้างภาพจำ แล้วยังสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภคได้อีกด้วย เมื่อภาพลักษณ์ที่แบรนด์สื่อสารออกไปชัดเจนและเป็นหนึ่งเดียวกัน จะส่งผลให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น ได้รับความไว้วางใจในระยะยาว ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจว่าทำไม Brand CI ถึงเป็นสิ่งที่ทุกแบรนด์ต้องใส่ใจ

Brand CI (Corporate Identity) สำคัญอย่างไรใน Branding?

ทำความเข้าใจ Branding คืออะไร?

การสร้างแบรนด์ (Branding) คือการออกแบบเรื่องราวหรือภาพรวมของแบรนด์ องค์กร หรือบริษัททั้งหมด ที่ส่งผลต่อการรับรู้ ตั้งแต่วิธีการสื่อสาร การออกแบบ ที่สร้างเอกลักษณ์และตัวตนให้กับแบรนด์ จนเกิดความแตกต่างและสามารถแยกออกจากคู่แข่งได้ ส่งผลให้เกิดภาพจำกับผู้บริโภค ตลอดจนความเชื่อมันและเกิดการตัดสินใจ (Conversion) ในที่สุด

Brand Identity หรือ Corporate Identity (CI) คืออะไร

Brand Identity กล่าวง่าย ๆ คือ ภาพรวมทั้งหมดที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์หรือองค์กร ถือเป็นอีกหนึ่ง Subset ของ Branding นั่นเอง แต่จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการมองเห็นด้วยภาพ (Visual)

ดังนั้น การมี Brand CI ที่ดีจะช่วยให้ Branding มีความชัดเจนขึ้น เช่น การออกแบบ โลโก้ ที่สื่อถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมองค์กร หรือการเลือก สีประจำองค์กร ที่ทำให้ลูกค้าจดจำและรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นแบรนด์ของคุณ นอกจากนั้นการใช้ ฟอนต์ และโทนสีเดียวกันในทุก ๆ ช่องทางการสื่อสารก็จะช่วยเสริมให้แบรนด์มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Maz เรามองว่า Corporate Identity ไม่ใช่แค่การออกแบบที่สวยงามหรือทันสมัยเท่านั้น แต่ต้องสื่อถึงตัวตนของแบรนด์ในเชิงลึก ซึ่งหมายถึงคุณค่าที่แบรนด์ต้องการถ่ายทอดไปยังกลุ่มเป้าหมาย การสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าสามารถจดจำและเชื่อมโยงกับแบรนด์ได้อย่างสม่ำเสมอ

ความสำคัญของ Brand CI ในการสร้างความชัดเจนและเอกลักษณ์ของธุรกิจ

1.ภาพจำที่ดีในกลุ่มผู้บริโภค

เพื่อสร้างความแตกต่างและโดดเด่นเหนือคู่แข่งในตลาด ยกตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทเดียวกันที่ลูกค้าค้นหาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ปรากฏขึ้นมามากกว่า 10 – 20 แบรนด์ ในขณะที่ลูกค้าจำชื่อแบรนด์ของเราไม่ได้ แต่สามารถจำรูปลักษณ์ โลโก้ สี จำได้ว่าเคยซื้อก็จะตัดสินใจซื้ออีกครั้ง

2.การสื่อสารที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การสื่อสารไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญเฉพาะธุรกิจใหญ่หรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้วเท่านั้น แต่ธุรกิจ Startup หรือธุรกิจขนาดเล็ก ที่เปิดหน้าร้านออนไลน์หลายแพลตฟอร์มเพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์ก็ควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารเช่นกัน เพราะการมี Brand CI ที่ทำให้ภาพลักษณ์และการสื่อสารเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ มีความเป็นระเบียบแบบแผนที่ดี ถึงแม้จะมีหน้าร้านออนไลน์เยอะแต่ Branding ยังแข็งแกร่ง

3.ทิศทางในการสื่อสาร

เมื่อมี Corporate Identity จะช่วยลดความสับสนในกรณีที่ธุรกิจมีช่องทางการสื่อสาร หรือช่องทางการขายหลายช่องทาง ส่งเสริมภาพลักษณ์ Branding ด้วยการใช้โทนสี CI โลโก้ ฟอนต์แบบเดียวกัน ลูกค้าก็จะทราบได้ทันทีว่าทุกช่องทางการขายนี้คือแบรนด์เดียวกัน นอกจากนี้ ยังช่วยแบ่งเบาหน้าที่ของแอดมินลงได้บ้างอีกด้วย

องค์ประกอบสำคัญของ Brand CI

1. โลโก้ (Logo Design)

โลโก้เป็นตัวแทนที่เห็นได้ชัดที่สุดของแบรนด์ การออกแบบโลโก้ที่ดีต้องสามารถสื่อถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่ชัดเจนและง่ายต่อการจดจำ เพราะโลโก้มักประกอบไปด้วยตัวอักษรประจำแบรนด์ โทนสีประจำแบรนด์ หรือบางกรณีอาจมีลายกราฟิกประจำแบรนด์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดสามารถสื่อสารถึง Brand Concept ได้ชัดเจนและมีความแตกต่างจากคู่แข่ง ที่ลูกค้าเห็นแล้วจำได้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือแบรนด์ของเรา

นอกจากนี้ การออกแบบโลโก้อย่างมีคุณภาพจะสามารถนำไปใช้ได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นขนาดที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น

  • โลโก้ที่สามารถใช้ได้ทั้งแบบสี แบบโมโนโทน และแบบขาวดำ
  • ออกแบบโลโก้ไซส์ปกติ เล็กสุด ใหญ่สุด เพื่อนำไปใช้งานอื่น ๆ
2.สีประจำองค์กร (Brand Colors)

สีเป็นปัจจัยที่สำคัญในด้านจิตวิทยา การเลือกสีที่เหมาะสมกับแบรนด์ สินค้า หรือบริการ จะช่วยส่งเสริมอารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการสื่อไปยังลูกค้า ตัวอย่างเช่น สีฟ้าอาจสื่อถึงความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย ส่วนสีแดงอาจสื่อถึงความตื่นเต้นและพลัง เป็นต้น

3.ฟอนต์ (Font)

การเลือกฟอนต์ที่เหมาะสมจะช่วยเสริมให้ข้อความที่สื่อสารมีความเป็นเอกลักษณ์ ฟอนต์ที่ดีควรมีความเข้ากับภาพลักษณ์ของแบรนด์และใช้งานง่ายในทุกแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่างการใช้

  • ฟอนต์ที่ดีต้องเหมาะกับประเภทธุรกิจ 
  • ฟอนต์ต้องเข้ากับคอนเซ็ปต์รวมของ Branding เช่น ขายความน่ารัก ขายลูกเล่นความสนุกสนาน หรือเน้นไปที่ความสุขุม สุภาพ น่าเชื่อถือ
  • ภาพรวมของ Branding ที่ดี แนะนำให้เลือกฟอนต์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีความสอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มแรก สามารถปรับใช้กับการสร้างสรรค์ภาพ Artwork เช่น Social Media, ใบปลิว, เว็บไซต์ ฯลฯ
4.รูปแบบกราฟิกประจำแบรนด์ (Graphic Design)

การมีลวดลายกราฟิกก็เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่เพิ่มโอกาสในการจดจำของลูกค้าได้ นอกจากนี้ ยังกราฟิกที่เพิ่มเข้ามายังช่วยทำให้ฟอนต์หรือสีที่ใช้ เกิดความแตกต่างและโดดเด่นกว่าคู่แข่งธุรกิจประเภทเดียวกันในตลาด ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มสะอาดที่แบรนด์ส่วนใหญ่ 90% เลือกใช้สีฟ้า น้ำเงิน ขาว แต่เมื่อทุกแบรนด์เลือกใช้สีโทนเดียวกัน ฟอนต์คล้าย ๆ กัน แบรนด์ของเราจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างเพื่อนำเสนอจุดเด่นให้ลูกค้าเกิดการจดจำได้อย่างลวดลายกราฟิก

5.รูปแบบการสื่อสาร (Tone of Voice)

การกำหนดรูปแบบการสื่อสารหรือ Tone of Voice เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาที่เป็นมิตรและเข้าถึงง่าย หรือเลือกใช้ภาษาที่มีความเป็นทางการก็ต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ธุรกิจที่เปิดพรีออเดอร์ Art Toy ต่าง ๆ จะเน้นการใช้ภาษาในแคปชันหรือ Text Overlay ด้วยความสุภาพแต่มีลูกเล่นน่ารัก ๆ

6.ความรู้สึกหรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ (Mood & Tone)

อารมณ์หรือความรู้สึกเมื่อลูกค้าได้สัมผัสแบรนด์ ซึ่งเกิดจากความพยายามในการสื่อสารตัวตน คอนเซ็ปต์ นำเสนอความโดดเด่น ภาษาในการสื่อสาร ฯลฯ ผ่านการออกแบบภาพประกอบคอนเทนต์ ภาพสำหรับการโฆษณา โทนสีและโลโก้ที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์น้ำแร่ธรรมชาติ สิ่งที่แบรนด์ต้องสื่อสารออกไปคือความเป็นความธรรมชาติ สะอาด ปลอดภัย สุขภาพดี ทำให้การดีไซน์งานควรจะเป็น Mood & Tone ที่ใช้ภาพจริง ๆ หรือภาพกราฟิกที่เล่าเรื่องได้ ดูสุขุมนุ่มลึกเข้ากับทิศทางของแบรนด์ โดยเลือกโทนสีขาว เขียว ฟ้า น้ำเงิน เลือกใช้โทนสีเข้มเพื่อเพิ่มจินตนาการหรือโทนสีอ่อนเพื่อสื่อถึงความอ่อนโยน

จากข้อมูลทั้งหมดที่เราได้นำเสนอพร้อมยกตัวอย่าง อาจจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ Branding มากขึ้น และเข้าใจว่าการสร้าง Brand CI ที่ดี ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า แต่ยังทำให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน ทีมงานทุกคนจะมีแนวทางในการทำงานและการสื่อสารที่สอดคล้องกัน

หากคุณกำลังมองหาวิธีสร้าง Branding ที่แข็งแกร่งและเป็นที่จดจำ Maz Business Consultant มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมช่วยคุณออกแบบและวางกลยุทธ์ Brand CI ที่เหมาะสมกับธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ เราพร้อมที่จะนำพาแบรนด์ของคุณก้าวข้ามขีดจำกัดและประสบความสำเร็จในตลาดด้วยบริการรับทำ Branding ตั้งแต่การออกแบบโลโก้ การเลือกใช้สี ฟอนต์ และการวางกลยุทธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของแบรนด์ ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่จดจำและสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้า