Home » เจาะลึกแผนธุรกิจ (Business Plan) ฉบับ MAZ
ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การมีแผนธุรกิจ (Business Plan) ที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องมี ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเป็นขนาดเล็ก SME หรือขนาดใหญ่ เป็นธุรกิจใหม่ (Startup) หรือเปิดกิจการมานานแล้ว การมีแผนธุรกิจที่ตอบโจทย์ไม่เพียงช่วยปูแนวทางภาพรวมให้ธุรกิจเท่านั้น แต่ยังกำหนดทิศทางให้กับองค์กรได้ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน ไปจนถึงการวิเคราะห์หาจุดอ่อนและการสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจ
การเขียนแผนธุรกิจ ถือเป็นตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สร้างความเชื่อมั่นให้กับพาร์ตเนอร์ Maz Business Consultant พาเจ้าของธุรกิจเรียนรู้ขั้นตอนการทำ Business Plan ง่าย ๆ เจ้าของธุรกิจมือใหม่ก็ทำได้ เพราะเราเชื่อมั่นในการสร้างสรรค์แผนธุรกิจที่ทันสมัย การปรับตัวให้ทันในทุกสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวสู่ความสำเร็จ
แผนธุรกิจ (Business Plan) คืออะไร
การเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) คือ การเขียนแผนการดำเนินงาน โดยการวางกลยุทธ์แบบใช้เป้าหมายขององค์กรเป็นที่ตั้ง หลังจากนั้นจึงเขียนวิธีการ แผนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย ครอบคลุมแผนธุรกิจด้านต่าง ๆ เช่น การตลาด การบริการเงิน บริหารคน ความเสี่ยง ฯลฯ พร้อมกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละส่วนใช้เวลานานเท่าไร
เขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) อย่างไรให้โดดเด่นในยุคดิจิทัล
แผนธุรกิจที่ดีก็เปรียบเสมือน Road Map ขององค์กร ที่จะช่วยวางแผนให้ธุรกิจของเราสามารถเดินตามแผนที่วางไว้ไปถึงเป้าหมายโดยไม่หลุดโฟกัส และวัดผลได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
และแผนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้ต้องมีความยืดหยุ่น และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว MAZ แนะนำขั้นตอนการพัฒนาแผนธุรกิจที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล ดังนี้
1.บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)
Executive Summary คือสรุปภาพรวมธุรกิจเราโดยย่อ เขียนกระชับ ตรงประเด็น เพื่อให้ทราบว่าธุรกิจอะไร ให้บริการใคร มีกลยุทธ์หรือแบบแผนอย่างไรเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ธุรกิจ เช่น
- ธุรกิจขายหรือให้บริการอะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร
- ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายได้ที่คาดหวังในอนาคต กำไร ระยะเวลาคืนทุน
- ข้อมูลเกี่ยวกับเงินลงทุน เช่น ใช้ทุนในการทำธุรกิจเท่าไร เงินทุนมาจากไหน
- ข้อมูลการตลาดและคู่แข่ง เพื่อให้ทราบว่าธุรกิจของเราอยู่ในตำแหน่งไหนของตลาด และต้องแข่งกับใคร
2.คำอธิบายธุรกิจ (Company Summary)
พื้นฐานของการสร้าง Branding ให้ดี ต้องทำความรู้จักธุรกิจให้มากและเสนอความต้องการอย่างครอบคลุม ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาจนถึงปัจจุบัน
- โครงสร้างธุรกิจ
- อุตสาหกรรมของสินค้าหรือบริการที่ทำอยู่
- วิสัยทัศน์ อัตลักษณ์ และจุดยืนของแบรนด์
- สิ่งที่เคยทำแล้วล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จ
- เป้าหมายธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาว
3.การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)
การวิเคราะห์สำคัญกับการทำแผนธุรกิจ Business Plan ในด้านตรรกะ (Logic) ของกลยุทธ์หรือวิธีการที่จะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ด้วยการศึกษาตลาดอย่างละเอียด ซึ่งจะเห็นถึงโอกาส จุดอ่อน จุดแข็งของคู่แข่ง รวมถึงความต้องการของลูกค้าในตลาด ยกตัวอย่างเช่น
- วิเคราะห์ธุรกิจ (SWOT Analysis)
- วิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)
- วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า (Customer Analysis)
4.การกำหนดเป้าหมาย (Business Objectives & Goals)
กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
5.สร้างแผนการตลาด (Marketing Plan)
เมื่อมีข้อมูลที่เพียงพอจากการวิเคราะห์ตลาด ขั้นตอนถัดไปของการเขียนแผน Business Plan คือการสร้างแผนการตลาดที่สามารถพาธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น
- กลยุทธ์การสื่อสาร
- กลยุทธ์การตั้งราคาหรือออกแบบโปรโมชัน
- กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาดหรือกลุ่มผู้บริโภค (Segmentation)
6.การจัดการและรายละเอียดองค์กร (Management and Organization)
หมายถึง รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างบริษัทที่อธิบายตำแหน่งหน้าที่ ทั้งในฝั่งของผู้บริหารและพนักงานเพื่อให้ทราบว่าใครจัดการส่วนไหน ตลอดจนรายละเอียดขององค์กรภายนอกที่ร่วมงานด้วยกัน ผ่านแผนผัง ‘Organization Chart’ แสดงการจัดแบ่งหน่วยงาน แผนก ทีม และส่วนงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความชัดเจนในระบบการทำงาน
7.วางแผนการผลิตสินค้าหรือบริการ (Production/Operation Plan)
อีกหนึ่งการเขียนแผนธุรกิจที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การวางแผนการผลิตสินค้าหรือบริการตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายและกระบวนการผลิต ไปจนถึงการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจ
8.แผนการเงิน (Financial Plan)
ในการเขียนแผนธุรกิจที่ดี ควรทำการประเมินรายรับ รายจ่าย และผลตอบแทนการลงทุนอย่างรอบคอบ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจเห็นภาพรวมทางการเงินขององค์กรชัดเจนมากขึ้น ทั้งการคาดการณ์รายได้อย่างสมเหตุสมผล พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์การจัดการต้นทุนเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน ประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่
- สถานการณ์การเงินปัจจุบัน เช่น เงินทุน รายได้ กำไร ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เงินหมุน ฯลฯ
- การวิเคราะห์ด้านการเงิน เช่น การคาดการณ์กำไร ขาดทุน (Income Statement) งบกระแสเงินสด (Cashflow) และงบดุล (Balance Sheet) ช่วยวิเคราะห์ทิศทางธุรกิจในอนาคต
9.แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart)
แผนภาพที่แสดงระยะเวลาการดำเนินงาน (Time Frame) และแผนการควบคุม (Controlling Plan) ผ่านแผนภูมิในรูปของกราฟ ที่ควรมีในแผน Business Plan เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน
- ปรับขนาดการวางแผนได้ทั้งโครงการขนาดเล็กและใหญ่ รวมถึงแผนย่อยในโครงการใหญ่
- ช่วยประสานงานระหว่างแผนกโดยใช้ภาษาการสื่อสารเดียวกัน ลดการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน
- จับจุดปัญหาซ้ำ ๆ เพื่อวางแผนหลีกเลี่ยงปัญหาเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดตามความก้าวหน้าโครงการได้โดยใช้สีต่าง ๆ แทนสถานะของแต่ละขั้นตอนใน Gantt Chart
10.แผนฉุกเฉิน (Emergency Plan)
การทำ Business Plan ให้สมบูรณ์ไม่เพียงแค่การวางแผนงานหลักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ยังต้องคำนึงถึงการเตรียมแผนฉุกเฉิน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจไม่เป็นไปตามแผน เช่น ความผันผวนของตลาด ปัญหาทางการเงิน หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ภัยธรรมชาติหรือวิกฤตภายในองค์กร การมีแผนฉุกเฉินจะช่วยให้ธุรกิจพร้อมปรับตัวและแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
จะเห็นได้ว่าการเขียนแผนธุรกิจ (Business Plan) ที่ดี ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีทิศทางที่ชัดเจนและสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ การวางแผนทางการเงิน หรือการวิเคราะห์ตลาดอย่างละเอียด หรือแม้กระทั่งการรับมือกับปัจจัยภายนอกอื่น ๆ MAZ เราพร้อมเป็นผู้ช่วยธุรกิจของคุณในการสร้างแผน Business Plan ที่ปรับตัวได้ในยุคดิจิทัล เราพร้อมที่จะร่วมพัฒนาแผนธุรกิจที่สามารถนำพาธุรกิจของคุณไปสู่ความสำเร็จ