Home » สร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อแบรนด์และลูกค้า ด้วย COMMUNICATION PLAN
การสร้างแบรนด์ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราจะทำอย่างไรให้แบรนด์โดดเด่น และแตกต่างจากคู่แข่งอื่น ๆ รวมถึงการสร้างภาพจำให้แก่ลูกค้า เมื่อนึกถึงแบรนด์ดัง ๆ อย่าง น้ำแดงเฮลซ์บลูบอย หรือนมแลคตาซอย เรามักจะนึกถึงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ในทันที ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของผลิตภัณฑ์ สี กลิ่น รสชาติ หรือแม้แต่เสียงเพลง ก็สามารถช่วยให้แบรนด์เป็นที่จดจำได้อย่างดี
ซึ่งในปัจจุบันการแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้หลาย ๆ แบรนด์ต้องมีการรับมือและวางแผนการสื่อสาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามเป้าหมาย โดยในบทความนี้เราจะพาคุณไปเจาะลึกในการสร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อแบรนด์และลูกค้าด้วย COMMUNICATION PLAN ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและเพิ่มการรับรู้ในตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ
Communication Plan คืออะไร?
Communication Plan (แผนการสื่อสาร) คือ แผนหรือแนวทางที่ใช้ในการวางกลยุทธ์เพื่อสื่อสารข้อมูลจากแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยการกำหนดทิศทางการสื่อสาร การเลือกข้อความที่จะสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร และวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในด้านการตลาด การสร้างการรับรู้ การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งแผนการสื่อสารจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ได้ในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงคุณค่า และความใส่ใจจากบริษัท
การสื่อสารที่ดีนั้นไม่เพียงแต่ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการของแบรนด์ แต่ยังช่วยสร้างความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในสิ่งที่แบรนด์กำลังทำอยู่ ดังนั้นการวางแผนการสื่อสาร Communication plan ที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการสร้างความความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างแบรนด์และลูกค้าในระยะยาว
องค์ประกอบหลักของ Communication Plan
1.การกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย (Objective Setting)
แบรนด์ต้องมีการกำหนดเป้าหมายหรือจุดมุ่งมั่นที่ชัดเจน เช่น แบรนด์ต้องการเป็นที่รู้จัก, ต้องการการเพิ่มยอดขาย, ต้องการการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับลูกค้า หรือการสร้างความซื่อสัตย์ในแบรนด์ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าซ้ำ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นช่วยสร้างทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน ทำให้การตัดสินใจในขั้นตอนถัดไปง่ายขึ้น และเป็นตัวชี้วัดให้แบรนด์สามารถประเมินได้ถึงแผนงานที่ดำเนินอยู่ว่ามีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของแบรนด์หรือไม่
2.การกำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้า (Target Audience)
การระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์ เช่น ลูกค้าปัจจุบัน, ลูกค้าใหม่, กลุ่มลูกค้าที่มีแนว โน้มจะเป็นลูกค้าในอนาคต โดยวิเคราะห์จากข้อมูลลูกค้า เช่น เพศ, อายุ, พฤติกรรมการซื้อ, ความชอบ, ความสนใจ
3.การกำหนดข้อความหลัก (Key Messages)
กำหนดข้อความที่ต้องการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยข้อความนั้นต้องมีความชัดเจน ตรงประเด็น และสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คำนึงถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ต้องการสื่อออกไป เช่น ความน่าเชื่อถือ, ความทันสมัย, ความใส่ใจในลูกค้า หรือคุณค่าของสินค้า/บริการ ตัวอย่างเช่น
“ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนกับเรา”
(ข้อความที่เน้นการกระตุ้นให้ลูกค้าร่วมมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดี)
“ผลิตภัณฑ์ของเราผ่านการทดสอบและรับรองคุณภาพจากมาตรฐานสากล”
(สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าสินค้าและบริการของแบรนด์มีคุณภาพและปลอดภัย)
4.ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
เลือกช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, TikTok, Blog, Website, หรือสื่ออื่นๆ และควรคำนึงถึงช่องทางที่กลุ่มลูกค้าของแบรนด์สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
5.การวางแผนการดำเนินการ (Implementation Plan)
วางแผนการดำเนินการ เช่น ระยะเวลาในการดำเนินการ, ความถี่ในการสื่อสาร, และลำดับขั้นตอนการจัดการเนื้อหารวมถึงวางแผนการทำงานร่วมกับทีมเพื่อให้การสื่อสารมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
6.การติดตามและประเมินผล (Evaluation and Feedback)
การติดตามและประเมินผลการดำเนินการช่วยให้ทราบว่า Communication Plan หรือ แผนการสื่อสาร ที่แบรนด์วางไว้นั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด รวมถึงการปรับปรุงกลยุทธ์ในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วง โดยการใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆ ในการติดตามผล การวัดการมีส่วนร่วมของลูกค้า, การรับรู้ของแบรนด์, ยอดขาย, การสำรวจความคิดเห็น
ข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยงในการวาง Communication Plan
1.การสร้างตัวตนของแบรนด์ที่ไม่ชัดเจน
การสร้างตัวตนของแบรนด์ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความรู้สึกสนใจ หรือรู้สึกแตกต่างจากคู่แข่งเจ้าอื่นๆ การที่แบรนด์สามารถดึงจุดเด่นหรือจุดแข็งออกมาเพื่อสื่อสารไปสู่กลุ่มลูกค้าได้ จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกถึงความแตกต่างจากคู่แข่งเจ้าอื่นๆ แบรนด์จึงควรดึงจุดแข็งออกมาเพื่อสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า
2.การเลือกช่องทางการสื่อสาร แผนการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
Communication plan ที่ไม่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หากแบรนด์ต้องการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าวัยทำงานแต่เลือกใช้โซเชียลมีเดียที่เน้นให้ความบันเทิง เช่น TikTok ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น แทนที่จะใช้ช่องทางที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า เช่น Facebook เป็นต้น
3.การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า
การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หากแบรนด์มีการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุ แต่แบรนด์เลือกใช้คำศัพท์วัยรุ่น หรือคำพูดที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น ก็อาจจะทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่เข้าใจ หรือไม่ให้ความสนใจในตัวแบรนด์ได้
4.การไม่ติดตามและประเมินผลหลังการทำงาน
การไม่ติดตามและประเมินผลหลังการทำงาน การที่แบรนด์รับรู้ถึงข้อผิดพลาดจะทำให้แบรนด์สามารถแก้ไขจุดบกพร่องได้ในครั้งถัดไป เพราะฉะนั้นการติดตามและประเมินผลทุกครั้งหลังการทำงานจะช่วยให้แบรนด์พัฒนาไปได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
Communication Plan ไม่เพียงช่วยในเรื่องการสื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างการจัดการภายใน กำหนดทิศทางของงาน การวางแผน รวมถึงการประเมินผลโดยรวม การวางแผนการสื่อสารที่ดีจะทำให้แบรนด์สามารถสร้างการรับรู้ที่ชัดเจน และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากคุณกำลังมองหาผู้ให้คำปรึกษาในการวางแผนธุรกิจ MAZ Business Consultant พร้อมให้คำปรึกษาด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจ เพื่อช่วยให้แบรนด์ของคุณเติบโตอย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัล