ข้อควรพิจารณา 3 กับดัก ของการทำ Feasibility Study

ข้อควรพิจารณา 3 กับดัก ของการทำ Feasibility Study
สารบัญ

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เป็นกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อประเมินความเป็นไปได้ว่าโครงการหรือธุรกิจมีความเหมาะสม และคุ้มค่ามากพอจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม นอกจากข้อมูลข้างต้นแล้ว ยังต้องนำปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ มาพิจารณาร่วมกันเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือไม่ บทความนี้จะแนะนำข้อควรพิจารณาสำคัญในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และบทบาท Digital Marketing Agency ที่จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความเป็นไปได้ทางการตลาด

Feasibility Study คืออะไร

Feasibility Study คือ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ในเชิงธุรกิจจึงหมายถึงการศึกษาความเป็นไปได้ในมุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ มักวิเคราะห์กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากต่อหนึ่งโครงการ ทั้งยังมีประเด็นในเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถนำ Feasibility มาประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน หรือพูดอย่างง่ายว่าธุรกิจไหน ๆ ก็สามารถวิเคราะห์เบื้องต้นก่อนได้ การจ้าง Digital Marketing Agency เข้ามาช่วยพิจารณาและวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุดจึงช่วยให้แผนธุรกิจที่กำลังรอดำเนินการนั้นเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

5 ปัจจัยในการวิเคราะห์ ‘Feasibility Study’

  1. สินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ (Market Feasibility)
    ถึงแม้ธุรกิจนั้น ๆ จะเป็นธุรกิจประเภทที่มีคู่แข่งน้อย แต่ในขณะเดียวกันหากสินค้าหรือบริการไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด ธุรกิจที่กำลังคิดลงทุนอาจไม่เหมาะลงทุนในช่วงเวลานี้
  2. สินค้าหรือบริการสามารถผลิตออกมาได้จริงหรือไม่ (Production Feasibility)
    การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เปรียบเทียบกับทรัพยากรที่มีอยู่  เช่น สถานที่ บุคลากร เทคโนโลยี เงินทุน ความเชี่ยวชาญ เวลา ฯลฯ
  3. กฎหมายอนุญาตให้ทำได้หรือไม่ (Law & Regulation Feasibility)
    ก่อนเริ่มทำธุรกิจ ควรศึกษากฎหมายเบื้องต้นเพื่อให้ทราบว่าธุรกิจที่กำลังจะทำมีกฎหมายหรือข้อบังคับกำกับไว้หรือไม่ เช่น ธุรกิจกาสิโนผิดกฎหมายในประเทศไทย
  4. รูปแบบการสร้างรายได้ (Business Model Feasibility)
    ธุรกิจที่จะสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ต้องมีรูปแบบการสร้างรายได้ที่เหมาะสม เช่น เปิดร้านปิ้งย่าง ต้องการกำหนดราคาเหมาจ่ายต่อคนหรือ a la carte
  5. คุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ (Financial Feasibility)
    หากธุรกิจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ ธุรกิจนั้นก็ควรที่จะจบลงเพียงแค่แผนการเท่านี้ ดีกว่าฝืนดำเนินการต่อ

ข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์โครงการ Feasibility Study

กับดักที่ 1: ผลการทำ Feasibility Study พบว่ากำไรน้อยเกินไป

สำหรับใครที่เคยทำแผนโครงการไปแล้วพบว่า NPV หรือผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับน้อยเกินไป หรือ IRR อัตราผลตอบแทนต่ำเกินไป นั่นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่าโครงการที่กำลังจะทำอยู่อาจจะไม่คุ้มค่าหรือเปล่า

สาเหตุหลัก ๆ ของสถานการณ์นี้มักเกิดขึ้นเนื่องจากการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน ตั้งแต่การสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องเครื่องมือที่ใช้ NPV ที่เป็นบวกอยู่ในเกณฑ์ดี หรือ IRR ที่เกินต้นทุนหรือเงินทุนก็ถือว่าดี ดังนั้น ควรสื่อสารถึงอัตราผลตอบแทนหรือเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจนว่ากี่เปอร์เซ็นต์ หรือขอคำปรึกษาจากพาร์ทเนอร์  Digital Marketing Agency

กับดักที่ 2: การมอง Feasibility Study เป็นเพียงตัวเลข

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) คือ การหยิบตัวเลขขึ้นมาคำนวณ ซึ่งในความเป็นจริงหากเจ้าของธุรกิจมองข้อมูลส่วนนี้เป็นเพียงตัวเลข อาจทำให้เกิดเรื่องเหล่านี้ขึ้น เช่น

  • ขาดความเข้าใจ ว่าตัวเลขนั้น ๆ เกิดขึ้นจากส่วนใดในธุรกิจ
  • มองข้ามตัวเลขที่สามารถสะท้อนการแข่งขันทางการตลาด โดยไม่ได้วิเคราะห์ร่วมกับการตอบสนองของคู่แข่ง

กับดักที่ 3: ความคุ้มค่าไม่ครบ

หมายถึงรายได้ไม่ครบหรือต้นทุนไม่ครบ โดยเฉพาะอย่างหลังที่ทำให้หลายคนมักจะพลาด แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 แบบ ได้แก่

  • ต้นทุนที่นับแล้วเกิน
    หมายความว่าเจ้าของต้นธุรกิจคำนวณต้นทุนเยอะเกินไปกว่าที่ควรจะเป็น แต่สิ่งที่มักเกิดขึ้นคือ เป็นการตัดสินใจ การลงทุน หรือการใช้จ่ายบางสิ่งไปและเกิดความรู้สึกว่าต้องนำมาใช้ให้เกิดความคุ้มค่าและนำสิ่งนั้นมาประกอบการตัดสินใจของโครงการ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้จากที่เคยตัดสินใจทำการวิจัย ลงทุนพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ การลงทุนซื้อสินทรัพย์บางอย่างแล้วนำมาใช้งานต่อให้คุ้มค่า แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะลงทุนใหม่หรือไม่ ของที่ใช้จ่ายไปจะถือว่าจ่ายไปแล้วอยู่ดี นักเศรษฐศาสตร์มักเรียกสิ่งนี้ว่าต้นทุนจม (Sunk Cost) ดังนั้นแนวทางแก้ไขคือการตัดใจไม่นับรวม
  • ต้นทุนขาด
    หมายความว่าการวางแผนควรมีต้นทุนต่าง ๆ ที่อธิบายอย่างชัดเจนเพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่เนื่องจากเหตุผลบางประการหากลืมนับยอดนั้น ๆ เข้าไป ก็สามารถแบ่งย่อยออกมา 2 แบบเช่นเดียวกัน เพราะในความเป็นจริงมีผู้จ่ายต้นทุน เพียงแต่ผู้จ่ายต้นทุนอาจจะมาในรูปแบบเพื่อนร่วมธุรกิจ แต่หากดูภาพรวมทั้งหมดอาจจะมีต้นทุนเพิ่มเติมแต่ไม่ได้อยู่ในแผน

จนถึงตอนนี้เจ้าของธุรกิจหรือใครที่มีความคิดริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ก็คงจะมีแนวทางการวิเคราะห์ในมุมมองขนาดกว้างเพื่อทราบว่าสิ่งนี้ทำให้เกิดประโยชน์ หรือเกิดความคุ้มค่าจริงหรือไม่ ดังนั้น การวิเคราะห์ความเสี่ยงจึงทำให้เจ้าของธุรกิจได้เรียนรู้และเข้าใจแผนธุรกิจมากขึ้น สามารถเห็นภาพความเป็นไปได้ต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น

แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงที่เข้าใจเรื่องการทำ Feasibility Study แต่ก็ยังไม่มั่นใจในกระบวนการวิเคราะห์แผนต่าง ๆ การมีผู้ช่วยบริษัทเอเจนซี่ Digital Marketing Agency จะช่วยวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจ ทำให้เกิดความมั่นใจว่าผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว มีความคุ้มค่าที่จะนำเงินลงทุนจำนวนมากนั้นมาใช้ในการดำเนินธุรกิจได้หรือไม่