เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ณ ปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลากหลายด้าน ในมุมของนักการตลาดเอง ต่างต้องพากันคิดค้นวิธีหรือกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อจะนำมาปรับใช้และรักษากิจการให้อยู่รอดต่อไป
วันนี้ MAZ จึงได้รวบรวม 9C ที่นักการตลาดยุคใหม่ต้องรู้ ตามไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
ยาวไปอยากเลือกอ่าน
Toggle1. CDP หรือ Customer Data Platform
ปัจจุบันข้อมูลลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมากในการตลาดยุคใหม่ เราจึงต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าเพื่อตอบสนองสินค้าหรือบริการที่ตรงใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด
แต่การเก็บข้อมูลลูกค้าในปัจจุบันแค่ชื่อ เบอร์โทร ที่อยู่ หรือ e-mail ไม่เพียงพออีกต่อไป ดังนั้น เราจึงใช้ CDP มาแก้ปัญหาส่วนนั้น
CDP (Customer Data Platform) เป็นระบบที่เก็บข้อมูลได้มาก ตามช่องทางต่างๆ และแยกออกเป็นรายบุคคลหรือหาความเชื่อมโยงให้เรา (Unifi ID) และแสดงผล ตั้งแต่
– รายได้ที่เราได้จากลูกค้าคนนั้น
– ช่องทางที่ลูกค้ามี Engagement กับเรา
– การทำนายและให้คะแนนพฤติกรรมของลูกค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
– Customer Journey ตาม Media Touchpoint ต่างๆ เช่น เห็น Ads อะไรบ้าง
– เข้ามาดู Webpage ประเภทไหน
– ข้อมูลจากการเชื่อมโยงอุปกรณ์ที่เป็น IOT
2. CRM หรือ Customer Relationship Management
สิ่งที่ต้องการสำหรับนักการตลาดยุคใหม่ คงไม่ใช่ให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของเราครั้งเดียวแล้วจากไป แต่จะทำอย่างไรถึงจะให้ลูกค้าอยู่กับเรานานๆ หรือ ลูกค้าที่ยังไม่ซื้อจะทำยังไงให้ซื้อ ซึ่งในส่วนนี้เราจึงใช้ระบบ CRM มาแก้ปัญหานี้ครับ
CRM กับ 3 ส่วนที่ต้องทำกับลูกค้า
1.การตลาด (Marketing) บริหารจัดการ Lead
2.การขาย (Sales) ทำ Lead ให้เป็นลูกค้า
3.การบริการ (Service) รักษาฐานลูกค้าปัจจุบัน
การทำ CRM (Customer Relationship Management) จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและยังคงใช้บริการเราอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น การแบ่งระดับลูกค้าเป็นระดับต่าง ๆ
(เช่น Platinum Gold Silver) ก็เพื่อที่จะแบ่งการดูแลลูกค้าที่แตกต่างกัน หรือ การสะสมแต้ม แล้วไปแลกบริการหรือสินค้าที่เรากำหนด ก็จะช่วยให้ลูกค้ายังอยากจะใช้บริการเราอยู่ เพราะถ้าไม่ใช้ก็อาจจะเสียดายแต้มที่ได้ไปแล้ว
3. CLV หรือ Customer Lifetime Value
เนื่องจากต้นทุนด้านการตลาดในปัจจุบัน ในบางธุรกิจอาจจะไม่คุ้มการลงทุนตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ลูกค้ามา เราจึงไม่สามารถระบุได้ว่าการทำการตลาด การโฆษณา หรือ การทำ Campaign นั้นๆ ล้มเหลวและไม่คุ้มค่า
.
สิ่งที่ต้องดูหลังจากได้ลูกค้ามาแล้วคือ CLV (Customer Lifetime Value) หรือ มูลค่าของลูกค้าที่อยู่กับเราตลอดอายุการใช้บริการเราคือเท่าไหร่ เพราะลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราในครั้งที่ 2 เป็นต้นไป เราไม่ได้เสียงบการโฆษณากับลูกค้าคนนี้แล้ว
.
CLV มีสูตรคำนวณที่หลากหลาย เช่น
.
CLV = Single Sale Average x Repeat Transaction Average x Retention Period Average
ฉะนั้นจึงต้องรู้มูลค่าจริงของลูกค้าแต่ละคนหรือมูลค่าเฉลี่ยของลูกค้าตลอดอายุที่ใช้บริการกับเราด้วย ถ้าเราทำ CRM ได้ดี มูลค่า ระยะเวลา ของลูกค้าที่อยู่กับเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
4. CPA หรือ Cost Per Acquisition
ต้นทุนต่อการได้ลูกค้า ว่าแต่ละคนที่เป็นลูกค้าเฉลี่ยต่อคนคือเท่าไหร่ เพื่อเราจะได้ไปวางแผนประสิทธิภาพของ media ในแต่ละช่องทาง ว่าช่องทางไหนคุ้มคุ้มค่าที่สุด
โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
.
CPA = Total Ad Spend
Conversions
.
พอเราคำนวณได้ค่า CPA แล้ว เราก็จะสามารถบริหาร budget ของ media ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
5. Clustering
เพราะลูกค้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน มีความชอบสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องทำ Clustering หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อจะได้รู้ว่าลูกค้าแต่ละคนอยู่กลุ่มไหนและเราจะตอบสนองความต้องการในแต่ละกลุ่มอย่างไร
การทำ Clustering ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหรือตัวแปรที่เราจะกำหนดเข้าไป อย่างพื้นฐานเช่น แบ่งตามอายุ เพศ ที่อยู่ หรือ ถ้าเริ่มเฉพาะเจอะจงลงไป เราอาจจะแบ่งตาม promotion ที่ชอบ หรือ สามารถใช้ได้กับหลายอย่าง เช่น
- Content Category
- Product Category
- Channel Category
การทำ Clustering ก็จะทำให้เรารู้สิ่งที่ลูกค้าชอบและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ง่ายขึ้น
6. Classification
คือการแยกลำดับชั้นลูกค้าอีกแบบหนึ่งที่นักการตลาดยุคใหม่ นิยมใช้กัน
Classification จะแยกระดับชั้นลูกค้าจากพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า โดยจะใช้ RFM Model ในการนำ Data พฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามาวิเคราะห์โดยดูจาก 3 ปัจจัยหลัก
- Recency (วันที่ซื้อครั้งล่าสุด)
- Frequency (ความถี่ในการซื้อ)
- Monetary (ยอดที่ซื้อ)
การนำ 3 ปัจจัยนี้มาทำ model ก็จะทำให้เราสามารถ แยกประเภทลูกค้าได้เป็น 11 Segmentation ดังนี้
1.Champion: กลุ่มลูกค้าที่ซื้อบ่อยหรือพร้อมจ่ายนัก ต้องให้รางวัล ถ้ามีสินค้าใหม่ออกมา ต้องรีบนำเสนอให้คนกลุ่มนี้ก่อนใคร
2.Loyal Customer: กลุ่มลูกค้าที่เชื่อมั่นในแบรนด์นั้นๆ ซื้อสินค้าเราเป็นประจำ ดึงดูดลูกค้าด้วยการ up-sell ขายสินค้าที่แพงขึ้น หรือส่งของขวัญไปให้ เพื่อให้เขากลายเป็นลูกค้าแบบ Champion
.
3.Promising: เราต้องชวนให้ลูกค้า มาสมัครเป็นสมาชิกกับเรา โดยนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงใจแบบ Personalization เพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ
4.New Customer: กลุ่มลูกค้าใหม่ เราต้องสร้างความสัมพันธ์ที่น่าประทับใจกับลูกค้าตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ เช่น นำเสนอบริการหลังการขาย ให้บัตรกำนัลมูลค่าไม่ต้องมาก
5.Abandoned Checkouts: กลุ่มลูกค้าที่ชอบติดขัด ขั้นตอนในการซื้อหรือจ่ายเงิน วิธีแก้ไขคือ ต้องสร้างความสัมพันธ์ผ่านการเรียนรู้ว่า ลูกค้ากลุ่มนี้ชอบหรือต้องการอะไร
6.Warm Leads: กลุ่มลูกค้าที่สนใจเรียนรู้ product ของคุณ แต่ยังไม่ถึงขั้นซื้อ ดังนั้นต้องพยายามติดต่อ เข้าถึงให้ได้มากที่สุด รีบรู้จักลูกค้าให้ไวและทำให้เขาซื้อสินค้าคุณให้ได้
7.Cold Leads: กลุ่มลูกค้านิ่งเฉยหรือยังไม่ได้สนใจสินค้าของคุณต้องใช้วิธีส่ง SMS หรือ Email ในสิ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจ แล้วรอดูผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร
8.Need Attention: เป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องให้ข้อเสนอแบบจำกัดเวลา เพื่อกระตุ้นให้กลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง โดยให้ข้อเสนอแบบ Personalization ที่ตรงกับความชอบหรือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
9.Should’t Lose: ดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้อ ด้วยโปรปังๆ หรือติดต่อเข้าถึงตัวลูกค้าให้ได้ ห้ามเสียลูกค้ากลุ่มนี้ให้คู่แข่งเด็ดขาด!
10.Sleepers: ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องส่ง Email หรือ SMS ไป หรือหาทางช่วยเหลือปัญหาอื่นๆให้กับลูกค้าเพื่อไม่ให้ลืมกัน
11.Lost: ทำแคมเปญการตลาดทางออนไลน์หาลูกค้ากลุ่มนี้ ถ้ายังไม่ได้ผลก็ล้มเลิกได้เลย
เมื่อทราบรายละเอียดของลูกค้าแต่ละ Class แล้ว เราก็สามารถ offer promotion ต่างๆให้แก่ลูกค้าแต่ละ Class ได้โดยไม่ต้องหว่านแหอีกต่อไป
7. CLM หรือ Customer Lifecycle Management/Marketing
ถ้าทำ Classification แล้วมันยุ่งยากเกินไป เราสามารถใช้ Customer Lifecycle Management/Marketing เป็นวิธีการบริหารหรือทำการตลาดต่อวงจรชีวิตลูกค้าได้
ตามช่วงที่ลูกค้าอยู่ในวงจรชีวิตนี้โดยเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 Stage
1. Acquire (ได้มา)
คือลูกค้าที่เข้ามาครั้งแรกและโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อ
ลูกค้าที่เข้ามาชมครั้งแรกแต่ไม่ซื้อ ต้องรักษาการสื่อสารกับลูกค้าและอาจจะจูงใจด้วยการให้ส่วนลดในการซื้อครั้งแรก
2. Retain (รักษา)
คือลูกค้าที่ซื้อครั้งเดียวและทำให้ซื้อซ้ำ
ลูกค้าที่ซื้อครั้งเดียวไม่ได้ซื้อซ้ำ หรือ ซื้อซ้ำแต่ไม่ซื้อบ่อย อาจจะต้องออกแบบสอบถามเรื่องความพอใจสินค้า หรือ เสนอ Friend get Friend ให้
3. Increase Value (เพิ่มมูลค่า)
คือเพิ่มความถี่ในการสั่งซื้อหรือเพิ่มยอดขายนั้นเอง
ใช้กับลูกค้าที่ซื้อเรื่อย ๆ แต่ยอดไม่เยอะ อาจจะให้ข้อเสนอพิเศษในระยะเวลาจำกัด
4. Cherish (หวงแหน)
คือการแสดงให้เห็นว่าลูกค้าสำคัญกับเราขนาดไหน
สำหรับลูกค้าที่จ่ายมากอยู่แล้วซื้อบ่อย ถ้ามีสินค้าใหม่ให้แจ้งเขาก่อน หรือ ให้ของขวัญเป็นครั้งคราว
5. Reactive (กลับมาใช้ใหม่)
คือการดึงลูกค้าให้กลับมาซื้อใหม่
ลูกค้าที่ซื้อเยอะๆแล้วหายไป อาจจะมีการสอบถามว่าที่เลิกซื้อเพราะอะไร และ offer ข้อเสนอพิเศษให้กับลูกค้า
9. Consent (การยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคล)
PDPA (Personal Data Protection Act, B.E. 2562 (2019) หรือ พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562
จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 นี้ ในกรณีที่เราจะนำข้อมูลของลูกค้าไปทำการตลาดต่อ เราต้องได้รับความยินยอม (Consent) จากทางลูกค้าก่อน มิเช่นนั้นจะถูกดำเนินตามกฎหมาย ‼️
ซึ่งโทษของ PDPA มีทั้งโทษทางแพ่ง อาญาและปกครอง คือ จำคุกสูงสุด 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท (ต่อราย) โดยผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคล จะมีผลถึง กรรมการ ผู้จัดการ ผู้สั่งการ บุคคลที่ดำเนินการ
.
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีโทษหนักมาก เราจึงจำเป็นต้องขอ Consent ลูกค้าก่อนที่นำข้อมูลลูกค้าไปทำการตลาดต่อไป
สุดท้ายนี้ก็คือ ในปัจจุบันมีนักการตลาดยุคใหม่จำนวนมาก ที่ประกอบธุรกิจแล้ว ประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินกิจการให้อยู่รอดต่อไปได้อย่างมั่นคงนั้น คงเป็นเรื่องยาก หากยังไม่รู้หลักการในการทำการตลาดที่แน่ชัดมากพอ
ฉะนั้นแล้ว ทาง MAZ ของเราจึงได้รวบรวม “9C ที่นักการตลาดยุคใหม่ต้องรู้” มาให้ศึกษากัน เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างมาก และสามารถนำไปปรับใช้ได้ อย่าละเลยและเลื่อนผ่าน ลองมาศึกษาและเรียนรู้ไปด้วยกัน เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแท้จริง