Home » E-commerce คืออะไร ธุรกิจแบบไหนที่เหมาะกับการค้าออนไลน์
หากคุณกำลังคิดที่จะเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ แน่นอนว่า E-commerce (อีคอมเมิร์ซ) จะต้องเป็นคำแรกที่คุณนึกถึง เพราะในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นในบทความนี้ MAZ จะมาแชร์ข้อมูลและความรู้ให้คุณเข้าใจถึงความหมายของ E-commerce พร้อมทั้งแนะนำประเภทของธุรกิจที่เหมาะสมกับการทำการค้าออนไลน์ รวมถึงการเลือกจ้างบริษัท รับทำเว็บไซต์ ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
E-commerce คืออะไร?
E-commerce คือ การทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์หรืออินเทอร์เน้ตโดยดำเนินการซื้อและขายได้ง่ายๆเพียงแค่ลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการและชำระเงินผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ของร้านค้า ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้าและลูกค้า จึงทำให้การทำเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ เป็นที่นิยมและมีคนทำอยู่มากมายในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเว็บไซต์เปรียบเสมือนหน้าร้านและพนักงานที่คอยให้บริการหรือแนะนำสินค้าแก่ลูกค้าโดยตรง
ด้วยเหตุนี้ MAZ จึงขอแนะนำให้เลือกบริษัท รับทำเว็บไซต์ ที่มีความน่าเชื่อถือและมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเว็บไซต์
ประเภทธุรกิจที่เหมาะกับร้านค้าออนไลน์ หรือ E-commerce มีอะไรบ้าง?
หลังจากที่คุณได้เข้าใจความหมายของ E-commerce แล้ว เรามาดูกันว่าเหมาะกับธุรกิจประเภทไหนบ้าง โดย MAZ ได้แบ่งประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับการทำไว้ทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้
- ธุรกิจ B2C (Business to Consumer) คือ การทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยตรงกับลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคเองโดยที่ไม่ผ่านตัวกลางใด เช่น ร้านอาหาร ร้านทำผมและสวนสนุก เป็นต้น
- ธุรกิจ B2B (Business to Business) คือ การทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรดำเนินการซื้อขายในตลาดกับผู้ประกอบการหรือองค์กรอีกเจ้านึง ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นซัพพลายเออร์ของกันและกันได้ เช่น บริษัทผลิตอะไหล่รถยนต์ขายอะไหล่รถยนต์ให้บริษัทผลิตรถยนต์เพื่อนำไปผลิตรถยนต์ต่ออีกทีนึง เป็นต้น
- ธุรกิจ B2G (Business to Government) คือ การทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรภาคเอกชนทำการซื้อขายกับองค์กรที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ เช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ขายคอมพิวเตอร์ให้แก่รัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้ทำงานในองค์กร เป็นต้น
- ธุรกิจ C2C (Consumer to Consumer) คือ การทำธุรกิจที่ผู้บริโภคทำการซื้อขายกับผู้บริโภครายอื่น เช่น ผู้บริโภครายที่ 1 ทำการติดต่อซื้อขายรถยนต์มือสองให้กับผู้บริโภครายที่ 2 เป็นต้น
- ธุรกิจ G2C (Government to Consumer) คือ การทำธุรกิจที่ดำเนินระหว่างหน่วยงานภาครัฐและลูกค้า (ประชาชน) ซึ่งอาจเป็นในเรื่องของบริการต่างๆที่ภาครัฐจัดทำให้แก่ประชาชนเช่นระบบคำนวณภาษีผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ เป็นต้น
การธุรกิจ E-commerce ดีอย่างไร?
- สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก
เนื่องจากการขายสินค้าหรือบริการแบบอีคอมเมิร์ซเป็นการดำเนินการซื้อขายทางออนไลน์ดังนั้นขอเพียงแค่ลูกค้ามีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงร้านค้าของเราได้อย่างง่ายดาย
- ดำเนินการซื้อขายได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น
ขั้นตอนการซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและลูกค้าสามารถทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมเพียงแค่ลูกค้าเข้ามายังหน้าเว็บไซต์และเลือกสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าต้องการ หลังจากนั้นก็ดำเนินการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งผู้ประกอบการจะตรวจสอบคำสั่งซื้อและส่งสินค้าตามออเดอร์ก็เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการซื้อขาย
- ประหยัดต้นทุนเกี่ยวกับพนักงาน
เนื่องจากการซื้อขายแบบอีคอมเมิร์ซไม่จำเป็นต้องมีพนักงานหน้าร้านเพื่อแนะนำสินค้าหรือให้บริการเหมือนร้านค้าทั่วไป ดังนั้นในส่วนนี้จะช่วยเพิ่มกำไรอีกต่างหาก
- การตลาดและการโปรโมท
เราสามารถใช้เครื่องมือออนไลน์เช่น SEM (Search Engine Marketing) และอื่นๆ ช่วยโปรโมทและเพิ่มอัตราการเข้าชมซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นสินค้าหรือบริการในตลาดให้ดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆเข้ามา
การธุรกิจ E-commerce มีข้อจำกัดอย่างไร?
- ลูกค้าไม่สามารถสัมผัสสินค้าจริงได้
การซื้อขายแบบอีคอมเมิร์ซมีข้อจำกัดที่ลูกค้าไม่สามารถเห็นหรือสัมผัสสินค้าจริงๆได้ดังนั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดในตัวสินค้าเช่น ขนาด สี และ ลักษณะเป็นต้น และเหตุผลนี้อาจทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ
- ระยะเวลาในการส่งสินค้า
เนื่องจากการสั่งสินค้าหรือบริการทางออนไลน์จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลและดำเนินการส่งสินค้าหรือบริการไปให้ลูกค้าซึ่งระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับบริษัทขนส่งและระยะทาง
- สินค้าอาจชำรุดระหว่างทาง
เนื่องจากการขนส่งสินค้าผ่านทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ สินค้าอาจได้รับผลกระทบจากการขนของ ย้ายของ หรืออาจเกิดจากการโยนของพนักงานขนส่งแต่ละแห่ง หากระยะทางไกลมากก็อาจจะยิ่งทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย
- ปัญหาทางเทคนิคของเว็บไซต์
ในบางสถานการ์ณที่ไม่คาดคิดระบบของเว็บไซต์อาจขัดข้อง เช่น ระบบล่ม ข้อมูลการสั่งลูกค้าหายเป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจเช็คระบบของเว็บไซต์และเตรียมแผนสำรองไว้แก้ไขเสมอ
E-commerce มีช่องทางการขายอย่างไรบ้าง?
การทำธุรกิจผ่านช่องทาง E-commerce มีช่องทางการขายอยู่หลากหลายแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการว่าต้องการขายสินค้าหรือบริการในรูปแบบใด ซึ่ง MAZ ได้อธิบายช่องทางการขายที่สามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมด 3 ช่องทาง ดังนี้
- เว็บไซต์ E-commerce
เว็บไซต์ E-commerce เป็นช่องทางการขายสินค้าและบริการต่างๆผ่านเว็บไซต์ของผู้ประกอบการหรือองค์กรเอง ซึ่งในการทำเว็บไซต์สามารถทำด้วยตัวเองหรือใช้บริการบริษัทที่รับทำเว็บไซต์ อย่าง IMAZMAKER ได้เช่นกัน
- Marketplace
Marketplace คือ เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหลายๆ เจ้าในการซื้อขายสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มเดียวกัน เช่น Shopee และ Lazada เป็นต้น โดยผู้ประกอบการสามารถเข้ามาลงขายสินค้าของตัวเองบนเว็บไซต์เหล่านี้ ซึ่งช่วยให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็ว
- Social Commerce
Social Commerce คือ การใช้บริการโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook และ Twitter เป็นแพลตฟอร์มตัวกลางในการซื้อขายสินค้าและบริการ โดยผู้ประกอบการสามารถโปรโมทและขายสินค้าผ่านโพสต์, โฆษณา หรือการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางเหล่านี้ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภค
ข้อควรพิจารณาในการเลือกจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์มีอะไรบ้าง ?
หากคุณสนใจที่จะสร้างเว็บไซต์โดยการจ้างบริษัทรับทำเว็บไซต์ MAZ ขอแนะนำข้อควรพิจารณาในการเลือกบริษัทรับทำเว็บไซต์เพื่อให้เว็บไซต์ E-commerce ของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถดึงดูดลูกค้าได้มากที่สุด ดังนี้:
- บริษัทที่คุณเลือกจ้างต้องมีความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันปัญหาการทิ้งงานหรือการทำเว็บไซต์ออกมาโดยไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการรีบจบงานแล้วไม่สนใจข้อเสนอแนะหรือคำติชมจากลูกค้า ซึ่งอาจส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณไม่สามารถทำงานได้ตามที่คาดหวัง
- บริษัทที่คุณเลือกจ้างควรมีประสบการณ์ในการทำเว็บไซต์ E-commerce และควรมีตัวอย่างเว็บไซต์ที่ได้พัฒนาขึ้นมาให้ดู เพื่อประกอบการพิจารณาว่าบริษัทนั้นมีความเชี่ยวชาญและสามารถสร้างเว็บไซต์ที่ตรงตามความต้องการของคุณได้จริง
- บริษัทรับทำเว็บไซต์ควรมีการเสนอรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์ Ecommerce อย่างชัดเจน เพื่อให้คุณเห็นว่าในราคาที่คุณจ่ายไปนั้น จะได้รับอะไรบ้าง รวมถึงฟีเจอร์และบริการต่างๆ ที่รวมอยู่ในแพ็คเกจ นอกจากนี้ คุณควรกำหนดงบประมาณที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายเกินงบที่ตั้งไว้และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม
- บริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพและมีรายละเอียดในการทำงานที่ครบครันเช่น มีกำหนดเดดไลน์แต่ละขั้นตอนและมีรายละเอียดระบุว่าเราต้องเตรียมข้อมูลอะไรให้ทางบริษัทบ้าง
- บริการหลังการขาย เพื่อดูว่าหลังจากการทำเว็บไซต์เสร็จแล้วทางบริษัทรับจ้างมีบริการหลังการขายอย่างไรและต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น การดูแลระบบในกรณีที่ระบบของเว็บไซต์ขัดข้อง เป็นต้น
สรุป
การทำธุรกิจแบบ Ecommerce ช่วยยกระดับให้ธุรกิจไปสู่โลกเทคโนโลยีและความทันสมัยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีประโยช์นอีกมากมายที่ช่วยผลักดันธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้นในโลกการตลาดออนไลน์แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ายังมีข้อจำกัดบางส่วนที่กำลังปรับปรุงและพัฒนา
หากคุณกำลังมองหาบริษัทที่ รับทำเว็บไซต์ ที่มีประสิทธิภาพอยู่ MAZ ขอเสนอบริษัท IMAZMAKER ซึ่งเรารับประกันคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้าว่าจะได้รับเว็บไซต์ E-commerce ที่ตรงตามความต้องการและมีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างแน่นอน